บ้านห้วยสะแตง ทุ่งช้าง น่าน

ห้วยสะแตง

ห้วบสะแตง ทุ่งช้าง
ห้วยสะแตง ทุ่งช้าง น่าน

เที่ยว ห้วยสะแตง ทุ่งช้าง น่าน

ห้วยสะแตง ชื่อหมู่บ้านเดิมจากภาษาชนเผ่าขมุจะเรียกว่า อมแตง เขียนเป็นภาษาไทยว่า แสตง บางคน อ่านว่า แส-ตง เลยเห็นว่าสมควรให้เปลี่ยนโดยเพิ่มสระอะไปด้วยเป็น สะแตง อีกสาเหตุหนึ่งก็คือหมู่บ้านตั้งอยู่ใกล้ ลำน้ำห้วย จึงเรียกว่า ”บ้านห้วยสะแตง”

สัมผัสวิถีชีวิต กับความเชื่อ เรื่องป่า ธรรมชาติ การเส้นสรวงบูชาบรรพบุรษที่ปกปักรักษาผู้คนบ้านห้วยสะแตงและนักท่องเที่ยวให้อยู่เย็นเป็นสุข เยี่ยมชมการละเล่นและวัฒนธรรมท้องถิ่นกับธรรมชาติ ชุมชนชาติพันธ์ขมุ

ชุมชนเล็กๆ ห้วยสะแตง ท่ามกลางหุบเขาที่ล้อมรอบด้วยธรรมชาติ

การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยสะแตง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลงอบ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน บ้านห้วยสะแตงเป็นชุมชนชาวขมุ ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย มีขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่โดดเด่นและเป็นอัตลักษณ์ ท้องถิ่นอาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตร ทำไร่ และปลูกผลไม้ท้องถิ่น อย่างเช่น ส้มสีทอง ส่วนมากคนในชุมชนเป็นคนที่เป็นเครือญาติเดียวกันมาตั้งแต่เริ่มมีหมู่บ้านแห่งนี้

บ้านห้วยสะแตง..ในอดีต

หมู่บ้าน ห้วยสะแตง ในอดีตอพยพมาจากประเทศลาว ซึ่งข้ามฝั่งโขงมาอาศัยอยู่ที่ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และได้แยกย้ายอพยพลงมาเรื่อยๆ ซึ่งร่วมเดินทางมาด้วยกันหลายหมู่เหล่า เช่น บ้านน้ำปาน บ้านใหม่ชายแดน บ้านห้วยสะแตง เมื่อได้มาพบแหล่งที่อยู่อันอุดมสมบูรณ์ที่ขุนน้ำน่าน โดยการนำของแสนกันทะ ซึ่งปักหลักอยู่ที่นั่นกี่ปียังไม่ทราบแน่ชัด เป็นเพียงแต่คำบอกเล่าโดยไม่ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพราะในอดีตไม่รู้หนังสือ อาศัยการจำและการบอกเล่าต่อๆกันมา จากนั้นก็ได้อพยพต่อลงมาอยู่ที่บ้านห้วยไคร้ ทำไร่เลื่อนลอยลงมาเรื่อยๆ จนมาอยู่ที่บ้านบวกหลวง (ปัจจุบันอยู่เหนือบ้านน้ำลาดเก่า) หลังจากนั้นก็แบ่งออกเป็น 3 หมู่เหล่า ดังนี้

หมู่ที่ 1 คือ หมู่บ้านน้ำน่านเหนือหรือบ้านสบห้วยสะนาว (ปัจจุบันอยู่เหนือบ้านปอน) โดยการนำของแสนไหม ต่อมาได้อพยพลงมาอยู่บ้านห้วยสวนเมี้ยงหรือบ้านห้วยส้มป่อย ต่อมาย้ายกลับไปอยู่บ้านน้ำปาง (ปัจจุบันอยู่บนบ้านน้ำเลียง ตำบลปอน) แล้วอพยพกลับมาอยู่บ้านห้วยสะแตง โดยการนำของแสนใจ ซึ่งปัจจุบัน คือ พื้นที่บริเวณตอนเหนือของหมู่บ้าน

หมู่ที่ 2 คือ หมู่บ้านที่แตกจากบ้านบวกหลวง โดยการนำของแสนปัน โดยพาลูกบ้านมาอยู่ที่บ้านห้วยข้าวหลาม หรือห้วยเฮี้ย (อยู่ตอนเหนือของบ้านภูคำในปัจจุบัน) ต่อจากนั้นได้อพยพมาอยู่บ้านปลากั้ง (อบเลิน ปัจจุบันเป็นสวนส้มของชาวบ้าน) โดยการนำของแสนสุน แล้วอพยพย้ายลงมาก่อตั้งหมู่บ้านที่บริเวณโรงเรียนบ้านห้วยสะแตงในปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2569

หมู่ที่ 3 คือ กลุ่มที่แตกจากบ้านบวกหลวง ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บ้านห้วยตาด (ปัจจุบันเป็นสวนส้มของนายคำปัน แปงคำใส) โดยการนำของแสนนาง (บิดานายตัก แปงคำใส) และได้ย้ายต่อไปอีกที่บ้านห้วยโป่ง หลังจากแสนนางได้เสียชีวิตลง ก็อพยพมาอยู่ที่ห้วยงูเหลือม โดยการนำของแสนแหว ซึ่งในอดีตหมู่คนจะไม่มีลูกบ้านเป็นหลักเป็นแหล่ง ชอบอพยพย้ายที่ไปเรื่อยๆ พอสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๘๑ หมดยุคของแสนแหวเสียชีวิตแสนเสย(ผู้ใหญ่เสย แปงคำใส) ได้ทำหน้าที่แทน จึงมีความคิดจะพยายามรวบรวมลูกหลานของชนเผ่าขมุ ทั้ง ๓ หมู่เหล่าเข้าด้วยกันแล้วย้ายหมู่บ้านจากบริเวณโรงเรียนปัจจุบันข้ามลำห้วยมาอยู่ หมู่บ้านในปัจจุบัน คือ จากขุนน้ำน่านเหนือ สันนิษฐานว่าคงเป็นต้นนามสกุลอยู่นาน ในปัจจุบัน จากบ้านห้วยส้มป่อยไปอยู่น้ำปางเหนือ โดยการนำของแสนใจ สันนิษฐานว่าคงเป็นต้นสกุล นาเพ็ญ ในปัจจุบัน จากบ้านห้วยตาดโดยการนำของแสนแหว สันนิษฐานว่าคงเป็นนามสกุล แปงคำใส ในปัจจุบัน

ห้วยสะแตง ทุ่งช้าง น่าน

การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านห้วยสะแตง เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับคนภายนอกเกี่ยวกับวิถีชีวิต การอาศัยอย่างพึ่งพิงธรรมชาติ และวิถีเกษตรกรรม กิจกรรมท่องเที่ยวที่น่าสนใจคือ กิจกรรมสัมผัสธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เรียนรู้การทำสวนเกษตร การตีมีด การทำอาหารท้องถิ่น การจับปลา พืชสมุนไพร และการแสดงทางวัฒนธรรม สัมผัสธรรมชาติที่งดงาม เส้นทางเดินป่าไปดูพืชถ้องถิ่น และน้ำตกห้วยสะแตง ไฮไลด์สำคัญ คือ จุดชมวิวสองแผ่นดิน ที่นักท่องเที่ยวต้องมาสัมผัส วิถีขมุ ชุมชนเกษตรกรรม เส้นผ่านชายแดนสองแผ่นดิน

เที่ยวห้วยสะแตง

Share
error: Content is protected !!